About Us

จากที่เคยเป็นผู้ใช้เองแล้วรู้สึกดี หายปวดเมื่อยและใช้เป็นยาดม ทำให้สุขภาพดีสดชื่นจริง ดีจริง ได้หันมาจำหน่ายเอง เพราะอยากบอกต่อสิ่งดีๆให้กับคนอื่น และไม่อยากให้สินค้านี้หายไป

จึงได้สั่งผลิตเพิ่มขึ้นมาเพื่อจะได้นำไปบอกต่อกับคนอื่นๆมาดีจริง สมควรมีไว้ติดตู้ยาสามามัญประจำบ้าน หรือนำไปฝากผู้ใหญ่ หรือทำเป็นของชำร่วยแจกในโอกาสต่างๆ หรือเป็นของขวัญปีใหม่

สินค้ามีพร้อมส่ง

4800 +
จำนวนสินค้าคงคลัง
+
จำนวนออเดอร์ต่อวัน
+
จำนวนสมาชิก

 

 

คำว่า “สมุนไพร” หมายความว่า ยาที่ได้มาจากพืช สัตว์ แร่ธาตุจากธรรมชาติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างภายใน สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆ และบำรุงร่างกายได้ ประเภทของสมุนไพร สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา เช่น เกลือ กำมะถัน น้ำประสานทอง ดีเกลือ สารส้ม

เสลดพังพอนตัวเมีย
ชื่อสมุนไพร  เสลดพังพอน (พญายอ)
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น เสลดพังพอนตัวเมีย , พญาปล้องทอง พญาปล้องดำ (ภาคกลาง) , พญาปล้องคำ (ลำปาง) , ผักมันไก่ , ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) , โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง) , ชิงเจี้ยง หนิ่วซิ้วฮวา (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์  Clinacanthus burmanni  Nees
วงศ์  ACANTHACEAE

ถิ่นกำเนิดพญายอ

สมุนไพรพญายอเป็นสมุนไพรเขตร้อน เช่นทวีปแอฟริกา บราซิล และอเมริกา กลาง ส่วนในเอเชียมีการกระจายในประเทศอินโดนีเซีย ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น และเป็นสมุนไพรที่มีหมอพื้นบ้านประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย จีน ใช้รักษาผื่นผิวหนัง แมลงสัตว์กัดต่อย งูกัด แมงป่องต่อย มาตั้งแต่ในอดีตแล้ว ส่วนในประเทศไทยมักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ หรือพบปลูกกันตามบ้านทั่วไป ทั่วทุกภาคของประเทศ พญายอ หรือ เสลดพังพอนตัวเมียมีชื่อพ้องกัน นั่นก็คือ เสลดพังพอนตัวผู้ แต่ต่างกันตรงที่เสลดพังพอนตัวผู้มีหนาม สรรพคุณอ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมียและเพื่อไม่ให้สับสนระหว่างสมุนไพร 2 ชนิดนี้ จึงเรียกเสลดพังพอนตัวเมียว่า "พญายอ"

ประโยชน์และสรรพคุณพญายอ

  1. ช่วยถอนพิษไข้ ดับพิษร้อน
  2. แก้อาการผิดสำแดง
  3. แก้เจ็บคอ เจ็บปก แผลในปาก คางทูม
  4. รักษาโรคบิด ไข่ดัน
  5. รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
  6. รักษาแผลน้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน
  7. แก้ฝี
  8. แก้พิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย
  9. รักษาโรคหัด
  10. เป็นยาขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน
  11. แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว
  12. บำรุงกำลัง
  13. แก้อาการเจ็บท้อง แก้ผิดอาหาร
  14. แก้ปวดฟัน
รูปแบบและขนาดวิธีใช้พญายอ
  • ทาบริเวณที่แมลงสัตว์กัดต่อยเป็นผื่นคัน ใช้ใบสด 5-10 ใบ ตำขยี้ทาบริเวณที่เป็นแผลที่แพ้ จะยุบหายได้ผลดี
  • แก้แผลน้ำร้อนลวก ใช้ใบตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าวหรือน้ำมันงา เอากากพอกแผลที่ถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ แผลจะแห้ง นำใบมาตำให้ละเอียดผสมกับสุรา ใช้พอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก มีสรรพคุณดับพิษร้อนได้ดี
  • รักษาอาการอักเสบ ถอนพิษ รักษาแผลร้อนในในปาก เริม งูสวัด ใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมียสด 10-20 ใบ (เลือกใบสีเขียวเข้มสดเป็นมันไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไป)นำมาตำผสมกับเหล้าหรือน้ำมะนาว คั้นเอาน้ำดื่มหรือเอาน้ำทาแผลและเอากากพอกแผล ใช้ใบเสลดพังพอน 1,000 กรัม หมักใน alcohol 70 % 1,000 ซีซี. หมักไว้ 7 วัน นำมากรองแล้วเอาไประเหยให้เหลือ 500 ซีซี. เติม glycerine pure ลงไปเท่ากับจำนวนที่ระเหยไป (500 ซีซี.) นำน้ำยาเสลดพังพอนกรีเซอรีนที่ได้ทาแผลเริม งูสวัด แผลร้อนในปาก ถอนพิษต่างๆ
  • ใช้เป็นยาลดไข้ ด้วยการใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำซาวข้าว ใช้พอกบนศีรษะคนไข้ประมาณ 30 นาที อาการไข้และอาการปวดศีรษะจะหายไป
  • ช่วยแก้อาการผิดสำแดง (กินอาหารแสลงไข้ แล้วทำให้โรคกำเริบ) ด้วยการใช้รากสดนำมาต้มกินครั้งละประมาณ 2 ช้อนแกง
  • ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ ด้วยการนำใบสดมาเคี้ยวประมาณ 10 ใบ กลืนเอาแต่น้ำยาพอให้ยาจืด แล้วจึงคายกากทิ้ง
  • แก้คางทูม ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 10-15 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรง คั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่บวม อาการบวมจะหายไป และอาการเจ็บปวดจะหายไปภายใน 30 นาที
  • ใช้แก้ฝี ด้วยการใช้ใบนำมาโขลกผสมกับเกลือและเหล้า ใช้พอกบริเวณที่เป็น เปลี่ยนยาทุกเช้าและเย็น

         ส่วนการใช้พญายอรักษาอาการเนื่องจากแมลงกัดต่อย และเริมตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขนั้น  ให้ใช้ใบขยี้ทาบริเวณที่ถูกแมลง สัตว์ กัดต่อย หรือเป็นเริมและสำหรับครีม ที่มีสารสกัดพญายอร้อยละ 4 – 5   และสารละลาย (สำหรับป้ายปาก) ที่มีสารสกัดพญายอในกลีเซอรีนร้อยละ 2.5 – 4 รวมถึงโลชัน ที่มีสารสกัดพญายอร้อยละ 1.25  ให้ใช้  ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 5 ครั้ง

การบูร

การบูรคืออะไร

การบูรเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่มีผลึกแทรกอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้และยังสามารถนำลำต้น,ราก,ใบ มากลั่นหรือสกัดจนได้ผลึกดังกล่าวอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งแต่เดิมนั้น คำว่า “การบูร” มาจากภาษาสันสกฤตว่า “Karapur” หรือ “กรปูร” ซึ่งแปลว่า “หินปูน” เพราะโบราณเข้าใจว่าผนึกนี้เป็นพวกหินปูนที่มีกลิ่นหอม ต่อมาชื่อนี้เพี้ยนเป็น “กรบูร” และเป็น “การบูร” ในปัจจุบัน (ผู้เขียนเข้าใจว่า ชื่อการบูรนี้คงถูกเรียกจากผลึกที่ได้แล้วจึงนำมาตั้งชื่อต้นไม้ที่ให้ผลึก) ส่วนลักษณะของผลึกการบูรนั้น มีลักษณะเป็นผลึกหรือเกล็ดกลมๆเล็กๆ มันวาว สีขาวแห้ง มีกลิ่นหอมเย็นฉุน  มักจะจับกันเป็นก้อนร่วน ๆ  แตกง่าย  หากทิ้งไว้ในอากาศ  จะระเหิดไปหมด มีรสร้อนปร่าเมา

สูตรทางเคมีและสูตรโครงสร้าง

ผลึกการบูรมีชื่อสามัญว่า Camphor, Gum camphor, Formosan camphor, Laurel camphor เป็นสารประกอบกลุ่มเทอร์พีนที่พบได้จากต้นการบูรมีความไวไฟ มีชื่อตาม IUPAC ว่า 1,7,7-trimethylbicyclo [2.2.1]heptan-2-one และมีชื่ออื่นๆ ได้แก่ 2-bornanone, 2-camphanone bornan-2-one, Formosa  มีสูตรเคมี C10H16O มีน้ำหนักโมเลกุล 152.23 ความหนาแน่น 0.990 มีจุดหลอมเหลวที่ 179.75 องศาเซลเซียส (452.9 K) จุดหลอมเหลว 204 องศาเซลเซียส (477K) สามารถละลายน้ำได้ และมีสูตรโครงสร้างดังนี้

ประโยชน์และสรรพคุณการบูร 

  1. แก้ปวด แก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้กระตุก แก้ปวดข้อ
  2. แก้ปวดเส้นประสาท
  3. ช่วยลดคอเลสเตอรอล
  4. แก้พิษแมลงต่อย
  5. รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง
  6. ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ
  7. แก้ไข้หวัด และขับลม
  8. บำรุงธาตุ บำรุงกำหนัด
  9. เป็นยากระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ 
  10. แก้ปวดท้อง ท้องร่วง ขับน้ำเหลือง แก้เลือดลม 
  11. บรรเทาอาการปวดประจำเดือน  และขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอดบุตร
  12. ช่วยแก้รอยผิวหนังแตกในช่วงฤดูหนาว
  13. สามารถช่วยไล่ยุงและแมลง
  14. ใช้รักษาแผล สมานแผล
  15. ฆ่าเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย
  16. ใช้ไล่แมลง
  17. ช่วยลดกลิ่นอับ
  18. แก้อาการเมารถ

สะระแหน่

ชื่อสมุนไพร สะระแหน่
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น สะระแหน่ไทย , สะระแหน่สวน , สะระแหน่ฝรั่ง , สะระแหน่ญวน , แมงลักน้ำ , สะระแหน่ต้น , ต้นน้ำมันหม่อง (ทั่วไป),หอมด่วน, หอมเดือน (ภาคเหนือ),ขะแหยะ,ขะแยะ(ภาคอีสาน) สะแน่ , มักเงาะ (ภาคใต้),แซบ่อห่อ , กอยโซว . กิมปุ๊กห่วง (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ สะระแหน่เป็นพืชสกุล มินต์ (Mint) มีอยู่หลายชนิดแต่ชนิดหลักที่เป็นที่รู้จักและจะขอกล่าวถึงในบทความนี้ คือ
สะระแหน่ไทย - Mentha × cordifolia Opiz ex Fresen.
สะระแหน่ฝรั่ง - Mentha ×  piperita Linn.
สะระแหน่ญวน - Mentha ×  pulegium Linn.
ชื่อสามัญ  Mint  , Kitchen Mint, Spearmint , pepper mint.
วงศ์   LABIATAE - LAMIACEAE

 

ถิ่นกำเนิดสะระแหน่ 

สะระแหน่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในยุโรป และแพร่กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไป ทั้งในยุโรปและอเมริกาเหนือ รวมทั้งในภูมิภาคอื่นๆ ของโลกโดยเฉพาะเขตร้อนและเขตอบอุ่น  แล้วจึงมีการพัฒนาสายพันธุ์เองตามธรรมชาติเพื่ออยู่รอดตามสภาพอากาศของถิ่นต่างๆ ที่กระจายพันธุ์ไป หรือเกิดการผสมข้ามสายพันธุ์จนกลายมาเป็นสะระแหน่สายพันธุ์ต่างๆ เช่น สะระแหน่ไทย , สะระแหน่ฝรั่ง , สะระแหน่ญวน เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยเชื่อกันว่า สะระแหน่ถูกนำเข้ามาในเมืองไทยช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่3) โดยชาวอิตาเลียนชื่อนายสะระนีด้วยเหตุนี้จึง สันนิษฐานว่าชื่อสะระแหน่มาจากชื่อนายสะระนีนั่นเอง

          หนังสืออักขราภิธานศรับท์ พ.ศ.2416 ของหมอปลัดเล ซึ่งเป็นช่วงรัชกาลที่ 4 ปรากฏว่าไม่พบชื่อสะระแหน่เลยแสดงว่าขณะนั้น (2416) สะระแหน่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ซึ่งอาจเป็นเพราะสะระแหน่เพิ่งเข้ามาไม่นานก็เป็นได้  และในปัจจุบันสามารถพบสะระแหน่ไทยได้ทั่วทุกภาคของประเทศ


ประโยชน์และสรรพคุณสะระแหน่

  • ช่วยขับเหงื่อ
  • ช่วยลดอาการหืดหอบ
  • แก้ปวดท้อง
  • ช่วยขับลมในกระเพาะลำไส้
  • แก้จุกเสียดแน่น
  • แก้ลดอาการเกร็งของกระเพาะอาหารและลำไส้
  • แก้ปวดบวม
  • ช่วยฆ่าเชื้อโรค
  • แก้ปวดศีรษะ(ขยี้ทา)
  • ใช่ดมแก้ลม
  • ช่วยย่อยอาหาร
  • แก้พิษแมลงต่อย(ขยี้ทา)
  • แก้ผดผื่นคัน(ขยี้ทา)
  • แก้การอักเสบของแผล(ขยี้ทา)    
  • แก้ซางชักในเด็ก
  • ช่วยให้ผายลมได้ดี
  • ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
  • ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
  • แก้มุตกิด(ตกขาว หรือ ระดูขาว)
  • ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • แก้ฟกบวม
  • ช่วยเสริมระบบทางเดินอาหาร
  • ใช้ลดอาการคัดจมูก

พิมเสน

พิมเสนคืออะไร

พิมเสนมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ภิมเสน ภีมเสน พิมเสนเกล็ด พิมเสนตรังกานู พรมแสน มีชื่อสามัญว่า “Borneo Camphor” แขกอินเดียในบอมเบย์เรียก “Bhimseni” หรือ “Boras” ชาวฮินดูเรียก “Bhimsaini-kapur” หรือ “Barus kapur” โดยทั่วไปแล้วพิมเสนแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ พิมเสนที่ได้จากธรรมชาติหรือพิมเสนแท้ ชื่อสามัญ Borneol camphorและพิมเสนสังเคราะห์ หรือพิมเสนเทียม ชื่อสามัญ Borneolum Syntheticum(Borneol) ซึ่งพิมเสนจะมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆแบนๆ มีสีขาวขุ่นหรือออกแดงเรื่อๆ (หากเป็นพิมเสนบริสุทธิ์จะเป็นผลึกรูปแผ่นหกเหลี่ยม) มีเนื้อแน่นกว่าการบูร ระเหิดได้ช้ากว่าการบูร ติดไฟให้แสงจ้าและมีควันมาก ไม่มีขี้เถ้า ละลายได้ยากในน้ำ ละลายได้ดีในตัวทำละลายชนิดขั้วต่ำ พิมเสนมีกลิ่นหอมเย็น ฉุน รสหอม เย็นปากเย็นคอ สมัยก่อนคนไทยนิยมใช้ใส่ในหมากพลูเคี้ยว 

ประโยชน์และสรรพคุณพิมเสน  

ถึงแม้ว่าพิมเสนจะสกัดได้มาจากต้นไม้แต่ ตามตำรายาแผนโบราณ จัดพิมเสน เป็นประเภทธาตุวัตถุ ไม่ใข่พืชวัตถุ แพทย์แผนโบราณใช้พิมเสนเป็นยาขับเหงื่อ ขับเสมหะ กระตุ้นการหายใจ กระตุ้นสมองบำรุงหัวใจ ใช้เป็นยาระงับความกระวนกระวาย ทำให้ง่วงซึมแก้เคล็ดขัดยอกคลายเส้นการอบสมุนไพรมีพิมเสนเป็นส่วนประกอบในตัวยา พิมเสนซึ่งระเหิดเมื่อถูกความร้อน มีกลิ่นหอม ใช้แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง ผสมในลูกประคบ เพื่อช่วยแต่งกลิ่น มีฤทธิ์แก้พุพอง แก้หวัดนอกจากนี้ยังผสมอยู่ในยาหม่อง น้ำอบไทย

        ในตำราพระโอสถพระนารายณ์: ระบุ “ตำรับยาทรงนัตถุ์”  เข้าเครื่องยา 17 สิ่ง ใช้ปริมาณเท่าๆกัน รวมทั้ง พิมเสนด้วย ผสมกัน บดเป็นผงละเอียด ใช้นัตถุ์แก้ลมทั้งหลาย ตลอดจนโรคที่เกิดในศีรษะ ตา และจมูก อีกขนานหนึ่งเข้าเครื่องยา 15 สิ่ง รวมทั้งพิมเสนด้วย บดเป็นผงละเอียด ห่อผ้าบาง ทำเป็นยาดม แก้ปวดหัว วิงเวียน แก้สลบ แก้ริดสีดวงจมูก คอ และตา นอกจากนี้พิมเสนยังใช้เป็นส่วนผสมใน “ตำรับยาสีผึ้งบี้พระเส้น” ใช้ถูนวดเส้นที่แข็งให้หย่อนได้ และในตำรับ “สีผึ้งขาวแก้พิษแสบร้อนให้เย็น”

Shopping Cart